การรักษาอาการนอนกรนแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด

%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%99

 

 

 

 

 

 

 

การรักษาอาการโรคนอนกรน มี 2 ทางเลือกคือ วิธีไม่ผ่าตัด และวิธีผ่าตัด ซึ่งผู้ป่วยสามารถเลือกได้ เพราะการรักษาอาการนอนกรนหรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับไม่จำเป็นต้องผ่าตัด แนะนำให้ใช้วิธีไม่ผ่าตัดก่อน ถ้าไม่ดีขึ้น, ไม่ชอบ หรือไม่สะดวก ผู้ป่วยสามารถเลือกวิธีผ่าตัดได้

วิธีไม่ผ่าตัด

ออกกำลังกายสม่ำเสมอ  ผู้ป่วยควรขยันออกกำลังกายแบบแอโรบิค คือ การออกกำลังกายที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น หายใจเร็วขึ้นต่อเนื่อง เช่น วิ่ง, เดินขึ้นลงบันได, ว่ายน้ำ, เตะฟุตบอล เป็นต้น อย่างน้อยวันละ 30 นาที และอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน เมื่ออายุมากขึ้นเนื้อเยื่อในทางเดินหายใจส่วนบนจะหย่อนมากขึ้นตามอายุ ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการนอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับมากขึ้น การออกกำลังกายดังกล่าว จะช่วยป้องกันความหย่อนยานดังกล่าวได้ โดยไม่ให้หย่อนยานมากกว่าที่ควรจะเป็นตามอายุ

– นอนศีรษะสูงเล็กน้อย  ประมาณ 30 องศาจากแนวพื้นราบ จะช่วยลดบวมของเนื้อเยื่อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนได้บ้าง และควรนอนตะแคงเพราะการนอนหงายจะทำให้มีการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนมากขึ้น เนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก อาจทำได้โดยเอาหมอนข้างมาหนุนที่หลังหรือใส่ลูกเทนนิสไว้ด้านหลังของเสื้อ

– ใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก  พ่นวันละครั้งก่อนนอน ซึ่งยาสเตียรอยด์พ่นจมูกจะทำให้เยื่อบุจมูกยุบบวม ทำให้ทางเดินหายใจโล่งขึ้น และยังจะช่วยหล่อลื่นทำให้การสะบัดตัวของเพดานอ่อนและลิ้นไก่น้อยลง ทำให้เสียงนอนกรนเบาลงได้

วิธีผ่าตัด  มีจุดประสงค์ทำให้ขนาดของทางเดินหายใจส่วนบนกว้างขึ้น ทำให้อาการนอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับลดลง ควรพิจารณาวิธีนี้ ซึ่งการผ่าตัดจะทำมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับตำแหน่งและสาเหตุของการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน การผ่าตัดไม่ได้ทำให้อาการนอนกรน และภาวะหยุดหายใจหายขาด หลังผ่าตัดอาการอาจยังเหลืออยู่ หรือมีโอกาสกลับมาใหม่ได้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย  แต่สิ่งสำคัญ คือ

– ต้องหมั่นออกกำลังกายเสมอ  ให้กล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนบนตึงตัวและกระชับ เนื่องจากหลังผ่าตัดเมื่ออายุผู้ป่วยมากขึ้นเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนบนจะหย่อนยานตามอายุ ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนกลับมาแคบใหม่ การออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างสม่ำเสมอดังกล่าวข้างต้นจะช่วยให้การหย่อนยานดังกล่าวช้าลง

– ต้องควบคุมน้ำหนักตัวให้ดีอย่าให้เพิ่ม  เนื่องจากการผ่าตัดเป็นการขยายทางเดินหายใจที่แคบให้กว้างขึ้น ถ้าน้ำหนักเพิ่มหลังผ่าตัดไขมันจะไปสะสมอยู่รอบผนังช่องคอ ทำให้กลับมาแคบใหม่ได้ซึ่งจะทำให้อาการนอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับกลับมาเหมือนเดิมหรือแย่กว่าเดิมได้

ทีมแพทย์ที่ปรึกษาของ professionsleepclinic.com ได้รับการริเริ่มขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้บริการตรวจรักษาผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหา นอนกรน ด้วยแนวทางที่เป็นนวัตกรรมที่หลากหลายครบวงจร

This entry was posted in สุขภาพ and tagged . Bookmark the permalink.